วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กาดกองต้า

กาดกองต้า 
                    กาดกองต้า หรือ ตลาดจีน (กาดกองต้า เป็นคำล้านนา แปลตามตัวคือ ตลาดถนนท่าน้ำ) เป็นตลาดโบราณ ของคนลำปาง อายุร้อยกว่าปีมาแล้ว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวัง เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 (สมัยรัชกาลที่5) ความสำคัญในอดีตเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าทางภาคเหนือและเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ซึ่งมีพ่อค้าหลายเชื้อชาติทั้งพม่า จีน และชาวตะวันตก ชื่อตลาดจีน มาจากพ่อค้าส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน ซึ่งบางส่วนเดิมทีได้มาขายแรงงานที่นี้ และได้พัฒนาจนมาเป็นพ่อค้าส่วนใหญ่ของตลาด เสน่ห์กาดกองต้าถ่ายทอดผ่านทางสถาปัตยกรรมทั้งเรือนแบบไทยภาคกลาง เรือนล้านนา เรือนพม่า เรือนแบบจีน และเรือนขนมปังขิงแบบฝรั่งเศส ตลาด ถนนคนเดิน


อาคารเก่าในกาดกองต้า 
อาคารฟองหลี (สร้างในช่วงปี  พ.ศ.  ๒๔๓๔  -  ๒๔๔๔)  เข้มขรึม  สุดคลาสสิกกาดก


       อาคารสองชั้นตรงหัวมุมถนนตลาดเก่านี้  ยกพื้นสูงจากถนนประมาณ    เมตร  กว้าง  ๑๖  เมตร  ลึกราว  ๑๐  เมตร  หลังคาจั่วตัดขวางแบบจีน  ชั้นบนเป็นห้องนอนพร้อมกับมีระเบียงและชายคาด้านหน้าถูกแต่งเติมเพิ่มเสน่ห์ด้วยไม้สักฉลุลวดลายโปร่ง เสาไม้รับระเบียงเรียงรายตรงทางเดินด้านล่างเป็นผลมาจากอิทธิพลตะวันตกที่แพร่หลายเข้ามาในสมัยนั้น

บ้านคมสัน (สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๐) เมื่อตะวันตกพบตะวันออก

            ถัดจากอาคารฟองหลีมาไม่ไกล  บ้านหลังใหญ่โตสีเหลืองโดดเด่นนั้นคือ บ้านคมสัน  ช่วงฤดูหนาว ริมรั้วยาวเหยียดจะสะฟรั่งไปด้วยดอกพวงแสดงามตายิ่งนัก  ผู้เป็นเจ้าของรุ่นแรกคนตลาดจีนรู้จักกันดีในชื่อป๋าน้อย-ย่าลางสาด คมสัน  บ้านคมสันเป็นบ้านปูนหลังแรกในย่านนี้ สร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกับสะพานรัษฎาภิเศก 

อาคารเยียนซีไท้ลีกี  (สร้างในปี  พ.ศ. ๒๔๕๖)  ตึกฝรั่ง หัวใจจีน

            จากบ้านของแม่เลี้ยงเต่าเดินไม่ไกลจะถึงอาคารเยียนไท้ลีกีที่สร้างขึ้นในปี  พ.ศ. ๒๔๕๖  โดยนายห้างใหญ่ชาวจีนชื่อนายจิ้นเหยี่ยน  (อารีย์  ทิวารี) ตันตระกูลทิวารี  เอเยนต์น้ำมะเน็ด ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์สร้างด้วยปูนทั้งหลัง  ประดับตกแต่งแบบตะวันตกชนิดเต็มรูปแบบ  หลังคาเป็นปั้นหยา  แต่กั้นแบบดาดฟ้า  (Paraped)  ลวดลายที่ใช้มีทั้งไม้ฉลุและปูนประดับ  โดยด้านบนของอาคารบริเวณตรงกลางมีหน้าจั่วที่บอกถึงปีที่สร้างอาคารนี้  คือ  ค.ศ.  ๑๙๑๓  และมีรูปปั้นหนูตามปีเกิดผู้เป็นเจ้าของ  และลายสัญลักษณ์ลูกโลกพร้อมทั้งลายใบไม้  ดอกโบตั๋น  ลายต้นไผ่  และลายประดิษฐ์รูปโบว์

บ้านแม่แดง (สร้างราวปี  พ.ศ.  ๒๔๖๑) อดีตร้านเกากี่ที่รุ่งเรือง

       ตรงข้ามกับบ้านทนายความเป็นบ้านแม่แดง  ของนายเกา  แซ่แห่ว-แม่แดง  พานิชพันธ์  เดิมบ้านหลังนี้คือร้านเกากี่  ขายสรรพสินค้าที่นับว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น  ทั้งของใช้ในประเทศจากกรุงเทพฯ  และนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยมีลูกค้าร่ำรวยทุกระดับชั้น 

อาคารหม่องโง่ยซิ่น  (สร้างราวปี  พ.ศ.  ๒๔๕๑)  พลิ้วไหวในงานไม้

            โดดเด่นที่สุดในแถบนี้  เห็นจะเป็นอาคารที่อยู่ตรงข้ามอาคารกาญจนวงค์นี่เอง  งามกระทั่งศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์  อย่าง  น.  ณ  ปากน้ำ  ยกย่องว่าเป็นอาคารขนมปังขิงริมถนนที่งดงามที่สุดในประเทศไทย  ทั้งยังได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น  ประจำปี  ๒๕๕๐ 

อาคารกาญจนวงศ์  (สร้างราวปี  พ.ศ. ๒๔๕๑)  ขนมปังขิงแสนหวาน

            ติดกันกับบ้านอนุรักษ์  คืออาคารขนมปังขิงสองชั้นแบบวางเรือนขวางเช่นเดียวกับอาคารฟองหลี  หลังคาจั่วตัดทางขวางซึ่งเป็นการวางผังแบบร้านค้าของชาวจีน  ชื่ออาคารกาญจนวงศ์  อ่อนหวานด้วยลายฉลุอันชดช้อยมองเพลิน  เดิมเป็นของบัวผัดกาญจนวงศ์  ชาวพม่า  แต่ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของเรือนระวี  ตรีธรรมพินิจ  แห่งร้านเตียเฮ่งฮงย่านสบตุ๋ย

ภาพบรรยากาศ


















เอกสารอ้างอิง
หนังสือกาดกองต้าย่านเก่าเล่าเรื่องเมืองลำปาง โดย กิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล