วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ซ่าหริ่ม

            ขนมหวานยอดนิยมของไทย ทำจากแป้งถั่วเขียว ลักษณะเหมือนวุ้นเส้น แต่มีสีสันและกลิ่นหอมจากดอกมะลิ ทานกับน้ำกะทิหอมหวาน ใส่น้ำแข็ง เหมาะกับทานเวลาอากาศร้อนๆ

สูตรขนมไทยซ่าหริ่ม (สลิ่ม)





ระยะเวลา 1 ชม

วัตถุดิบซ่าหริ่ม (สลิ่ม)
1. แป้งถั่วเขียว (แป้งซ่าหริ่ม) 1/2 ถ้วย
2. น้ำลอยดอกมะลิ (ต่อ 1 ส่วน) 2 1/4 ถ้วย
3. สีผสมอาหาร (ชมพู ถ้าใช้สีเขียว-ลดน้ำแล้วเพิ่มสีหรือน้ำใบเตย 1 ถ้วย) 1 หยด
น้ำสลิ่ม
4. มะพร้าวขูดขาว คั้นกะทิ 3 ถ้วย
5. น้ำเชื่อม (น้ำตาลทราย 1 ถ้วย กับน้ำ 1/4 ถ้วย)




วิธีทำซ่าหริ่ม (สลิ่ม)
1.แป้งซ่าหริ่ม 3 สี
1.1 อ่างผสมใส่แป้งถั่วเขียว น้ำ (หยดสีผสมอาหาร) คนละลายให้เข้ากัน กรองผ้าขาวบาง ใส่กะทะทอง ตั้งไฟกลาง-อ่อน กวนไปทางเดียวกัน จนเหนียว แป้งเริ่มเปลี่ยนสี ดูใสขึ้น ยกลง ตักใส่ที่กดสลิ่ม (ลองด้วยน้ำเย็น) กดให้เป็นเส้นยาวเสมอกัน แช่ในน้ำเย็นสักพัก เทใส่กระชอนสะเด็ดน้ำ ใส่ภาชนะไว้
1.2 ถ้าทำสีเขียวโดยใช้น้ำใบเตยคั้น แป้งถัว 1/2 ถ้วย น้ำ 1 1/4 ถ้วย น้ำใบเตย 1 ถ้วยกวนแป้งทำเหมือนขั้นตอนด้านบน
2.น้ำสลิ่ม (น้ำเชื่อมผสมหัวกะทิ)
น้ำเชื่อมข้น ใส่หัวกะทิ คนให้เข้ากัน (หยดกลิ่นมะลิหรือ อบควันเทียน)
3. เวลาทาน ตักสลิ่ม 3 สีเท่าๆ กัน ใส่ด้วย ราดด้วยน้ำสลิ่ม ทุบน้ำแข็งใส่





อ้างอิงจาก เด็กหญิง ณัฐธิดา ติ๊บฝั้น

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กาดกองต้า

กาดกองต้า 
                    กาดกองต้า หรือ ตลาดจีน (กาดกองต้า เป็นคำล้านนา แปลตามตัวคือ ตลาดถนนท่าน้ำ) เป็นตลาดโบราณ ของคนลำปาง อายุร้อยกว่าปีมาแล้ว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวัง เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 (สมัยรัชกาลที่5) ความสำคัญในอดีตเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าทางภาคเหนือและเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ซึ่งมีพ่อค้าหลายเชื้อชาติทั้งพม่า จีน และชาวตะวันตก ชื่อตลาดจีน มาจากพ่อค้าส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน ซึ่งบางส่วนเดิมทีได้มาขายแรงงานที่นี้ และได้พัฒนาจนมาเป็นพ่อค้าส่วนใหญ่ของตลาด เสน่ห์กาดกองต้าถ่ายทอดผ่านทางสถาปัตยกรรมทั้งเรือนแบบไทยภาคกลาง เรือนล้านนา เรือนพม่า เรือนแบบจีน และเรือนขนมปังขิงแบบฝรั่งเศส ตลาด ถนนคนเดิน


อาคารเก่าในกาดกองต้า 
อาคารฟองหลี (สร้างในช่วงปี  พ.ศ.  ๒๔๓๔  -  ๒๔๔๔)  เข้มขรึม  สุดคลาสสิกกาดก


       อาคารสองชั้นตรงหัวมุมถนนตลาดเก่านี้  ยกพื้นสูงจากถนนประมาณ    เมตร  กว้าง  ๑๖  เมตร  ลึกราว  ๑๐  เมตร  หลังคาจั่วตัดขวางแบบจีน  ชั้นบนเป็นห้องนอนพร้อมกับมีระเบียงและชายคาด้านหน้าถูกแต่งเติมเพิ่มเสน่ห์ด้วยไม้สักฉลุลวดลายโปร่ง เสาไม้รับระเบียงเรียงรายตรงทางเดินด้านล่างเป็นผลมาจากอิทธิพลตะวันตกที่แพร่หลายเข้ามาในสมัยนั้น

บ้านคมสัน (สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๐) เมื่อตะวันตกพบตะวันออก

            ถัดจากอาคารฟองหลีมาไม่ไกล  บ้านหลังใหญ่โตสีเหลืองโดดเด่นนั้นคือ บ้านคมสัน  ช่วงฤดูหนาว ริมรั้วยาวเหยียดจะสะฟรั่งไปด้วยดอกพวงแสดงามตายิ่งนัก  ผู้เป็นเจ้าของรุ่นแรกคนตลาดจีนรู้จักกันดีในชื่อป๋าน้อย-ย่าลางสาด คมสัน  บ้านคมสันเป็นบ้านปูนหลังแรกในย่านนี้ สร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกับสะพานรัษฎาภิเศก 

อาคารเยียนซีไท้ลีกี  (สร้างในปี  พ.ศ. ๒๔๕๖)  ตึกฝรั่ง หัวใจจีน

            จากบ้านของแม่เลี้ยงเต่าเดินไม่ไกลจะถึงอาคารเยียนไท้ลีกีที่สร้างขึ้นในปี  พ.ศ. ๒๔๕๖  โดยนายห้างใหญ่ชาวจีนชื่อนายจิ้นเหยี่ยน  (อารีย์  ทิวารี) ตันตระกูลทิวารี  เอเยนต์น้ำมะเน็ด ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์สร้างด้วยปูนทั้งหลัง  ประดับตกแต่งแบบตะวันตกชนิดเต็มรูปแบบ  หลังคาเป็นปั้นหยา  แต่กั้นแบบดาดฟ้า  (Paraped)  ลวดลายที่ใช้มีทั้งไม้ฉลุและปูนประดับ  โดยด้านบนของอาคารบริเวณตรงกลางมีหน้าจั่วที่บอกถึงปีที่สร้างอาคารนี้  คือ  ค.ศ.  ๑๙๑๓  และมีรูปปั้นหนูตามปีเกิดผู้เป็นเจ้าของ  และลายสัญลักษณ์ลูกโลกพร้อมทั้งลายใบไม้  ดอกโบตั๋น  ลายต้นไผ่  และลายประดิษฐ์รูปโบว์

บ้านแม่แดง (สร้างราวปี  พ.ศ.  ๒๔๖๑) อดีตร้านเกากี่ที่รุ่งเรือง

       ตรงข้ามกับบ้านทนายความเป็นบ้านแม่แดง  ของนายเกา  แซ่แห่ว-แม่แดง  พานิชพันธ์  เดิมบ้านหลังนี้คือร้านเกากี่  ขายสรรพสินค้าที่นับว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น  ทั้งของใช้ในประเทศจากกรุงเทพฯ  และนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยมีลูกค้าร่ำรวยทุกระดับชั้น 

อาคารหม่องโง่ยซิ่น  (สร้างราวปี  พ.ศ.  ๒๔๕๑)  พลิ้วไหวในงานไม้

            โดดเด่นที่สุดในแถบนี้  เห็นจะเป็นอาคารที่อยู่ตรงข้ามอาคารกาญจนวงค์นี่เอง  งามกระทั่งศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์  อย่าง  น.  ณ  ปากน้ำ  ยกย่องว่าเป็นอาคารขนมปังขิงริมถนนที่งดงามที่สุดในประเทศไทย  ทั้งยังได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น  ประจำปี  ๒๕๕๐ 

อาคารกาญจนวงศ์  (สร้างราวปี  พ.ศ. ๒๔๕๑)  ขนมปังขิงแสนหวาน

            ติดกันกับบ้านอนุรักษ์  คืออาคารขนมปังขิงสองชั้นแบบวางเรือนขวางเช่นเดียวกับอาคารฟองหลี  หลังคาจั่วตัดทางขวางซึ่งเป็นการวางผังแบบร้านค้าของชาวจีน  ชื่ออาคารกาญจนวงศ์  อ่อนหวานด้วยลายฉลุอันชดช้อยมองเพลิน  เดิมเป็นของบัวผัดกาญจนวงศ์  ชาวพม่า  แต่ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของเรือนระวี  ตรีธรรมพินิจ  แห่งร้านเตียเฮ่งฮงย่านสบตุ๋ย

ภาพบรรยากาศ


















เอกสารอ้างอิง
หนังสือกาดกองต้าย่านเก่าเล่าเรื่องเมืองลำปาง โดย กิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล